สิทธิจากเรือสู่ฝั่ง

ลดเท่ากับเพิ่ม: ความเปลี่ยนแปลงทางนโยบายและเทคโนโลยีส่งผลกระทบอย่างไรต่อตลาดแรงงานไทยสำหรับงานประมง

รายงานฉบับนี้สำรวจหาสาเหตุของปัญหาตลาดแรงงานและนำเสนอแนวทางการรับมือกับปัญหาแก่รัฐบาลไทยและนายจ้าง รวมถึงการลงทุนที่สามารถแก้ไขปัญหาการขาดความสมดุลของตลาดแรงงงานที่ยืดเยื้อมานานและพัฒนาความยั่งยืนทางเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมประมงพาณิชย์ไทยด้วย

รายงานนี้ประกอบด้วยเนื้อหา 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นการสำรวจความต้องการแรงงานข้ามชาติในภาคประมงไทยและผลกระทบจากนโยบายการรับแรงงานข้ามชาติที่มีต่ออุตสาหกรรมประมง เนื้อหาในส่วนนี้่รายงานถึงเหตุผลของความต้องการแรงงานประมงเพิ่มอีกกว่า 53,000 คน และการที่แรงงานข้ามชาติขาดความสนใจที่จะเข้ามาทำงานประมงในประเทศไทย และในต้อนท้ายเป็นการกล่าวถึงความเหมาะสมของเป้านโยบายที่ค่อนข้างขัดแย้ง ระหว่างเป้าหมายในการจ้างแรงงานข้ามชาติเพื่อมาทำงานในภาคประมงมากขึ้นและเป้าหมายในการลดจำนวนเรือประมงให้น้อยลง

เนื้อหาส่วนที่สองเป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับการปรับปรุงเรือประมงเพื่อลดความต้องการด้านแรงงาน กรณีศึกษาแสดงให้เห็นว่าการลงทุนเป็นเงินจำนวน 1.75 ล้านบาทเพื่อติดตั้งระบบไฮดรอลิกส์ เครื่องมือกู้อวน (power block) แบบธรรมดา สามารถลดจำนวนแรงงานประมงลงได้ถึงร้อยละ 37 ภายในเวลาหนึ่งปี ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของเรือสามารถพัฒนาปรับปรุงสภาพการทำงานของแรงงานประมงให้ดีขึ้นได้โดยทันที ในส่วนนี้ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับต้นทุนการปรับปรุงเรือโดยอ้างอิงจากการปรับปรุงเรืออวนล้อมขนาด 91 ตันกรอสที่จังหวัดปัตตานีในปีพ.ศ. 2562 ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าการติดตั้งระบบทำความเย็นที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นจะสามารถสามารถเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้น ผลคือจะสามารถคืนทุนการปรับปรุงเรือในระยะเวลาเพียงแค่หนึ่งปี

ส่วนสุดท้ายของรายงานเป็นข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลและนายจ้างเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างตลาดแรงงานกับการทำงานที่มีคุณค่าในภาคประมงด้วยการลงทุนในเทคโนโลยีเรือแบบง่าย ๆ ที่สามารถส่งเสริมความยั่งยืนของอุตสาหกรรม