Ship to Shore Rights
วัดความคืบหน้างานที่มีคุณค่าในอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเลของไทย
รายงานฉบับใหม่ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศเรื่องสภาพการทำงานในประเทศไทยของแรงงานประมงและอาหารทะเลสะท้อนภาพรวมของความคืบหน้าและความท้าทายที่ยังเผชิญอยู่
กรุงเทพฯ (ข่าวไอแอลโอ) โครงการสิทธิเรือสู่ฝั่งซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสหภาพยุโรปได้ประเมินสภาพการทำงานในอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเลของไทยที่ตกเป็นเป้าการตรวจสอบจากนานาชาติในช่วงสามปีที่ผ่านมา
ผลการศึกษาวิจัยข้อมูลพื้นฐานเรื่องแรงงานประมงและอาหารทะเลในประเทศไทย เป็นงานวิจัยฉบับแรกที่ทำขึ้นในประเทศไทยที่ครอบคลุมทั้งภาคประมง ภาคอาหารทะเลและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
การวิจัยได้รวมผลจากการสัมภาษณ์แรงงานในภาคประมงและอาหารทะเล จำนวน 434 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติที่ทำงานให้ผู้ประกอบการรายใหญ่และรายเล็กใน 11 จังหวัด ในปี 2560 โดยได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับการจัดหางาน ค่าจ้าง ชั่วโมงการทำงาน ความปลอดภัยและสุขภาพ บริการ กลไกร้องเรียน และสภาพความเป็นอยู่ ตลอดจนตัวชี้วัดของการบังคับใช้แรงงานและการดำเนินการตามกฎหมาย
ถึงแม้การศึกษาวิจัยนี้ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ครอบคลุมในทุกเรื่องทั้งหมด ผลการศึกษาสะท้อนทั้งความคืบหน้าและปัญหาที่แรงงานที่สัมภาษณ์ยังคงเผชิญอยู่ รายงานมีข้อเสนอแนะให้มีการบังคับใช้กฎหมายไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อป้องกันและยุติการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ
นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงานว่า “งานวิจัยข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับแรงงานประมงและอาหารทะเลได้แสดงถึงความมุ่งมั่นร่วมกันของทุกหุ้นส่วนภาคีในสังคม ที่จะขับเคลื่อนและประเมินความก้าวหน้าในการดำเนินงานยกระดับคุณภาพชีวิตและมาตรฐานแรงงานในภาคประมงและอาหารทะเลให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และการบรรลุเป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตามกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development) โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (No one left behind) รวมถึงการให้ความสำคัญต่อการเป็นห่วงโซ่อุปทานของโลก (Global Supply Chain) ที่ดำเนินงานอย่างมีจริยธรรม มีความยุติธรรม และมีการจ้างงานที่มีคุณค่า อันเป็นหัวใจสำคัญของความยั่งยืน และเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลไทย”
นางลุยซา แร็กเฮอร์ อุปทูตของคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยกล่าวว่าสหภาพยุโรปยึดมั่นในการส่งเสริมงานที่มีคุณค่าที่ครอบคลุมทั้งการสร้างงาน การประกันสิทธิประโยชน์ของผู้ใช้แรงงาน สิทธิการประกันสังคมและการเสวนาทางสังคมที่มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน สหภาพยุโรปยินดีและชื่นชมกับรัฐบาลไทยสำหรับความก้าวหน้าในความสำเร็จที่รวดเร็วเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการสร้างกรอบกฎหมายและระเบียบเพื่อพัฒนาคุณภาพการทำงานในภาคประมงและอาหารทะเลทั้งของแรงงานข้ามชาติและแรงงานไทย ทั้งนี้ สหภาพยุโรปตระหนักดีถึงข้อท้าทายและปัญหาอื่นๆ ที่ยังมีอยู่ ซึ่งทางสหภาพยุโรปพร้อมที่จะสนับสนุนและช่วยเหลือรัฐบาลไทยเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
นายแกรห์ม บัคลีย์ ผู้อำนวยการสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศประจำประเทศไทย กัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กล่าวว่า การวัดความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมเรื่องงานที่มีคุณค่าในรายงานชิ้นนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากลูกจ้าง นายจ้าง ผู้กำกับดูแลกติกาและผู้ซื้ออาหารทะเลไทยล้วนมีส่วนได้ส่วนเสีย เราต้องการให้ความสามารถในการแข่งขันการค้าขายอาหารทะเลทั่วโลกมีความหมายมากกว่าราคาสินค้าที่ต่ำและคุณภาพดี เราต้องการให้ความสามารถในการแข่งขันหมายถึงงานที่มีคุณค่าสำหรับแรงงานในอุตสาหกรรมนี้ทั้งหมดตั้งแต่เรือจนถึงผู้ค้าปลีก
หมายเหตุ ผลของการวิจัยไม่สามารถเป็นข้อสรุปเกี่ยวกับอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเลในประเทศไทยได้ทั้งหมดเนื่องจากเป็นการสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักการความน่าจะเป็นของการสุ่มตัวอย่าง (Nonprobability sampling)
ภูมิหลัง
โครงการสิทธิเรือสู่ฝั่งของ ไอแอลโอ โดยการสนับสนุนของสหภาพยุโรป มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและลดแรงงานบังคับ แรงงานเด็กและแรงงานรูปแบบอื่นที่ไม่เป็นที่ยอมรับ รวมทั้งลดการละเมิดแรงงานโดยเฉพาะต่อแรงงานข้ามชาติในภาคอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเลไทยโดยร่วมมือกับกระทรวงแรงงาน หน่วยงานราชการ และภาคีอื่นๆ
รายงานฉบับสมบูรณ์และรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการหาได้ที่เว็บไซต์ www.shiptoshorerights.org
ผู้ประสานงานโครงการสิทธิจากเรือสู่ฝั่ง
อีเมล: chotikajan@ilo.org
โทร: 662-288-1339 หรือ 6687-642-4195
ผลการศึกษาวิจัยข้อมูลพื้นฐานเรื่องแรงงานประมงและอาหารทะเลในประเทศไทย เป็นงานวิจัยฉบับแรกที่ทำขึ้นในประเทศไทยที่ครอบคลุมทั้งภาคประมง ภาคอาหารทะเลและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
การวิจัยได้รวมผลจากการสัมภาษณ์แรงงานในภาคประมงและอาหารทะเล จำนวน 434 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติที่ทำงานให้ผู้ประกอบการรายใหญ่และรายเล็กใน 11 จังหวัด ในปี 2560 โดยได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับการจัดหางาน ค่าจ้าง ชั่วโมงการทำงาน ความปลอดภัยและสุขภาพ บริการ กลไกร้องเรียน และสภาพความเป็นอยู่ ตลอดจนตัวชี้วัดของการบังคับใช้แรงงานและการดำเนินการตามกฎหมาย
ถึงแม้การศึกษาวิจัยนี้ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ครอบคลุมในทุกเรื่องทั้งหมด ผลการศึกษาสะท้อนทั้งความคืบหน้าและปัญหาที่แรงงานที่สัมภาษณ์ยังคงเผชิญอยู่ รายงานมีข้อเสนอแนะให้มีการบังคับใช้กฎหมายไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อป้องกันและยุติการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ
ผลการวิจัยที่สำคัญ
หลักฐานแห่งความก้าวหน้า- กรณีการทำร้ายร่างกายน้อยลง
- การจ้างแรงงานอายุน้อยกว่า 18 มีน้อยมาก (น้อยกว่าร้อยละ 1)
- แรงงานข้ามชาติกว่าร้อยละ 43 มีสัญญาว่าจ้างที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพิ่มขึ้นกว่าสีปีที่ผ่านมา
- แรงงานประมงบางคนได้รับค่าจ้างแต่ละเดือนสูงขึ้น
- ร้อยละ 34 ของแรงงานประมงและอาหารทะเลไม่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ
- ยังมีความไม่เท่าเทียมเรื่องค่าจ้างระหว่างหญิงชาย โดยร้อยละ 52 ของแรงงานหญิงได้รับค่าจ้างต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ
- ร้อยละ 24 ในภาคประมงแจ้งว่าถูกนายจ้างยึดค่าจ้าง บางคนถูกยึดค่าจ้างเป็นเวลา 12 เดือนหรือมากกว่านั้น
- ร้อยละ 34 แจ้งว่าถูกยึดเอกสาร
นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงานว่า “งานวิจัยข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับแรงงานประมงและอาหารทะเลได้แสดงถึงความมุ่งมั่นร่วมกันของทุกหุ้นส่วนภาคีในสังคม ที่จะขับเคลื่อนและประเมินความก้าวหน้าในการดำเนินงานยกระดับคุณภาพชีวิตและมาตรฐานแรงงานในภาคประมงและอาหารทะเลให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และการบรรลุเป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตามกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development) โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (No one left behind) รวมถึงการให้ความสำคัญต่อการเป็นห่วงโซ่อุปทานของโลก (Global Supply Chain) ที่ดำเนินงานอย่างมีจริยธรรม มีความยุติธรรม และมีการจ้างงานที่มีคุณค่า อันเป็นหัวใจสำคัญของความยั่งยืน และเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลไทย”
นางลุยซา แร็กเฮอร์ อุปทูตของคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยกล่าวว่าสหภาพยุโรปยึดมั่นในการส่งเสริมงานที่มีคุณค่าที่ครอบคลุมทั้งการสร้างงาน การประกันสิทธิประโยชน์ของผู้ใช้แรงงาน สิทธิการประกันสังคมและการเสวนาทางสังคมที่มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน สหภาพยุโรปยินดีและชื่นชมกับรัฐบาลไทยสำหรับความก้าวหน้าในความสำเร็จที่รวดเร็วเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการสร้างกรอบกฎหมายและระเบียบเพื่อพัฒนาคุณภาพการทำงานในภาคประมงและอาหารทะเลทั้งของแรงงานข้ามชาติและแรงงานไทย ทั้งนี้ สหภาพยุโรปตระหนักดีถึงข้อท้าทายและปัญหาอื่นๆ ที่ยังมีอยู่ ซึ่งทางสหภาพยุโรปพร้อมที่จะสนับสนุนและช่วยเหลือรัฐบาลไทยเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
นายแกรห์ม บัคลีย์ ผู้อำนวยการสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศประจำประเทศไทย กัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กล่าวว่า การวัดความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมเรื่องงานที่มีคุณค่าในรายงานชิ้นนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากลูกจ้าง นายจ้าง ผู้กำกับดูแลกติกาและผู้ซื้ออาหารทะเลไทยล้วนมีส่วนได้ส่วนเสีย เราต้องการให้ความสามารถในการแข่งขันการค้าขายอาหารทะเลทั่วโลกมีความหมายมากกว่าราคาสินค้าที่ต่ำและคุณภาพดี เราต้องการให้ความสามารถในการแข่งขันหมายถึงงานที่มีคุณค่าสำหรับแรงงานในอุตสาหกรรมนี้ทั้งหมดตั้งแต่เรือจนถึงผู้ค้าปลีก
หมายเหตุ ผลของการวิจัยไม่สามารถเป็นข้อสรุปเกี่ยวกับอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเลในประเทศไทยได้ทั้งหมดเนื่องจากเป็นการสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักการความน่าจะเป็นของการสุ่มตัวอย่าง (Nonprobability sampling)
ภูมิหลัง
โครงการสิทธิเรือสู่ฝั่งของ ไอแอลโอ โดยการสนับสนุนของสหภาพยุโรป มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและลดแรงงานบังคับ แรงงานเด็กและแรงงานรูปแบบอื่นที่ไม่เป็นที่ยอมรับ รวมทั้งลดการละเมิดแรงงานโดยเฉพาะต่อแรงงานข้ามชาติในภาคอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเลไทยโดยร่วมมือกับกระทรวงแรงงาน หน่วยงานราชการ และภาคีอื่นๆ
รายงานฉบับสมบูรณ์และรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการหาได้ที่เว็บไซต์ www.shiptoshorerights.org
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
สุภาวดี โชติกญาณผู้ประสานงานโครงการสิทธิจากเรือสู่ฝั่ง
อีเมล: chotikajan@ilo.org
โทร: 662-288-1339 หรือ 6687-642-4195