องค์การแรงงานระหว่างประเทศ – สหภาพแรงงานไทย การประชุมของการให้สัตยาบันและการปฏิบัติตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘

การประชุมครั้งนี้ เป็นการอภิปรายถึงอดีตปัจจุบัน และอนาคตของการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่87 และ 98 (ILO C.87 and 98) ความพยายามในการรวมกลุ่มเพื่อผลักดันการให้สัตยาบันอนุสัญญาดังกล่าวโดยคณะทำงานสหภาพแรงงาน และกระตุ้นการอภิปรายระดับไตรภาคีเพื่อผลักดันรการให้สัตยาบันอนุสัญญาให้มีการลงนามอนุมัติต่อไป

ความเป็นมา

นับแต่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้ก่อตั้งที่ได้เข้าร่วมการเป็นสมาชิกขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO-International Labour Organization) และได้มีการตั้งสำนักงานสาขาขึ้นในกรุงเทพฯ สหภาพแรงงานไทยและกลุ่มผู้ใช้แรงงานได้พยายามรณรงค์ ในการส่งเสริม การให้สัตยาบันและปฎิบัติตามมาตรฐานอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในฉบับที่ 87 และ 98 เช่นในระยะช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สหภาพแรงงานได้มีการยื่นจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีในวันแรงงานเรียกร้องให้รับรองสัตยาบันในอนุสัญญาทั้งสองฉบับ การสนับสนุนสนธิสัญญาของสหภาพแรงงานมีการดำเนินการเป็นรูปธรรมมากขึ้น หลังจากสภาระดับประเทศ 4 แห่ง ได้แก่ สภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย (LCT) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (SERC) สภาองค์การลูกจ้างสมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศไทย (TTUC) และสภาองค์การลูกจ้างอุตสาหกรรมเอกชนแห่งชาติ (NCPE) ได้ตกลงบันทึกสนธิสัญญาความเข้าใจในเรื่องแรงงาน(MOU-Memorandum of Understanding) กับ องค์กรแรงงานระหว่างประเทศในส่วนของสำนักงานเพื่อกิจกรรมผู้ใช้แรงงาน (ACTRAV) เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 เพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกันให้มีการยอมรับสัตยาบันอนุสัญญาขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่87และ98

ต่อมา 12 ศูนย์สหภาพแรงงานระดับประเทศที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว ได้มีการรวมตัวจัดตั้ง “คณะทำงานเพื่อสนับสนุนอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87และ98 (Working group to promote ratification)” ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2552 คณะทำงานดังกล่าวได้นำแผนการมาใช้ในการทำงานเพื่อสนับสนุนสนธิสัญญาจากการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “สหภาพแรงงาน-องค์การแรงงานระหว่างประเทศ กับการพิจารณาช่องว่างและความท้าทายเกี่ยวกับเสรีภาพในการสมาคม (FOA – Freedom of Association)และการร่วมเจรจาต่อรอง(CB-Collective Bargaining)ในประเทศไทย” ที่จัดขึ้น ณ โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3-4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 โดยมีผู้นำแรงงานจาก 30 องค์กรเข้าร่วม แผนการทำงานประกอบด้วย 5 ขอบเขตของกิจกรรมดังนี้

1. สร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักรู้ต่อกลุ่มแรงงานและประชาชนทั่วไปในความจำเป็นของอนุสัญญาฉบับที่ 87 และ 98
2. จัดและมีเวทีเพื่อการเรียนรู้ 7 แห่ง (Seven Learning Platforms) ในเขตอุตสาหกรรม
3. สร้างความเป็นปึกแผ่นในระดับนานาชาติระหว่าง สหพันธ์แรงงานโลก (GUF)และคณะทำงาน
4. การดำเนินการให้สภานิติบัญญัติสนับสนุน (lobbying activities)
5. การเคลื่อนไหวเพื่อสนับสนุนให้รัฐบาลให้สัตยาบันตามอนุสัญญา

โดยแผนงานดังกล่าวได้มีการดำเนินการไปอย่างลุล่วงด้วยดี จากการสนับสนุนทางการเงินและความช่วยเหลือทางเทคนิคจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) องค์กร FES (Friedrich -Ebert-Stiftung) และ ACSIL (American Center for International Labor Solidarity) ทั้งสามองค์กรนี้ได้ให้ความร่วมมือช่วยเหลือเพื่อให้การปฏิบัติงานดำเนินตามแผนงานได้ดำเนินไปอย่างลุล่วง การประสานงานกันเป็นอย่างดีระหว่างทั้ง 3 องค์กรนี้ทำให้เกิดผลสำเร็จในการจัดงานใหญ่หลายงาน งานแรกคือการสัมมนาในหัวข้อ “บริบทเกี่ยวกับอนุสัญญาองค์กรแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่87และ98 : หนทางไปสู่การลงนามให้สัตยาบัน” ที่ โรงแรมเอสทิน กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2552 มีผู้เข้าร่วมประมาณ 150 คน ประกอบด้วยตัวแทนจากสหภาพแรงงาน กลุ่มนายจ้างจากสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย(ECOT) และกระทรวงแรงงาน ในการประชุมนี้ ตัวแทนกลุ่มนายจ้างได้แสดงความเห็นในเชิงบวกต่ออนุสัญญาฉบับที่ 98 เป็นครั้งแรก

ในด้านสำนักงานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ITUC-AP) และสหพันธ์แรงงานโลก (GUFs) ก็มีการทำงานร่วมกับสมาชิกในสหภาพเครือข่ายเพื่อสนันสนุนเสรีภาพในการสมาคม (FOA – Freedom of Association) และการร่วมเจรจาต่อรอง(CB-Collective Bargaining) โดยสำนักงานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ITUC-AP) สมาพันธ์แรงงานโลก-ประจำประเทศไทย (ITUC-TC) และสหพันธ์แรงงานโลก (GUFs) ได้จัดประชุมเกี่ยวกับอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่87และ98 ที่กรุงเทพฯเมื่อ วันที่ 26-27 กันยายน พ.ศ.2553 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 80 คน รวมถึงกลุ่มภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ITUC-AP) องค์การผู้ใช้แรงงานท้องถิ่นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก(TWARO) องค์การสหภาพผู้ใช้แรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมเคมีพลังงานและเหมืองแร่ (ICEM) สมาพันธ์แรงงานไทย(ITUC-Thai Council) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และในวันที่ 8 ตุลาคม ปี พ.ศ.2552 และ ปี พ.ศ.2553 สหภาพแรงงานได้ทำการเดินขบวนเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ 98 อีกทั้งนำเสนอข้อเสนอแนะทางนโยบายจากการประชุม

เพื่อเป็นการตอบสนองต่อการจัดการภายในประเทศและความกดดันจากระดับนานาชาติ กระทรวงแรงงานได้จึงจัดคณะทำงานไตรภาคี (Tripartite Working Group) เพื่ออภิปรายถึงอุปสรรคและโอกาสของการให้สัตยาบันอนุสัญญา องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ 98 ในปลายปี พ.ศ.2552 กลุ่มไตรภาคีนี้แต่งตั้งมาจากตัวแทนสหภาพแรงงาน กลุ่มองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยและฝ่ายรัฐบาล ทั้งนี้ ตัวแทนฝ่ายรัฐบาลระดับอาวุโสจากทุกกระทรวงและผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบจากองค์กรที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในกระบวนการผลักดันอนุสัญญานี้เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการให้สัตยาบันอนุสัญญาและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจระดับประเทศและความมั่นคง โดยกลุ่มคณะทำงานดังกล่าวได้มีการประชุมหลายครั้งมาตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2552, 15 ธันวาคม 2552, 18 มกราคม 2553, 23 กันยายน 2553, ปลายเดือนธันวาคม 2553 และ 8 พฤษภาคม 2555

ผลจากความพยายามอย่างต่อเนื่องของกลุ่มสหภาพแรงงาน ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2553 กลุ่มคณะทำงานทั้ง 3 ฝ่ายได้มีมติเห็นชอบในการให้สัตยาบันอนุสัญญาและเสนอคณะรัฐมนตรีให้นำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การประชุมและให้สัตยาบัน จากนั้นคณะรัฐมนตรีได้เสนอเรื่องต่อไปยังรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกรัฐสภาลงความเห็นชอบต่อไป

แต่เนื่องมาจากความไม่สงบทางการเมือง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดงในกรุงเทพฯและอีกหลายแห่งช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน พ.ศ.2553 กิจกรรมทั้งหมดของกลุ่มสหภาพแรงงานที่ดำเนินการในเรื่องการให้สัตยาบันอนุสัญญา องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ 98 จึงหยุดชะงักไปชั่วคราว ต่อมาจึงมีจัดงานแถลงข่าวและอภิปรายในหัวข้อ “หนึ่งปีกับการสนับสนุนการให้สัตยาบันอนุสัญญา องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ 98 : ความคืบหน้าและความท้าทาย” โดยความร่วมมือระหว่าง องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) FES(Friedrich -Ebert-Stiftung) และ ACSIL (American Center for International Labor Solidarity) ที่โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2553 กับนักสหภาพแรงงานที่เข้าร่วมประมาณ 100 คน การประชุมนี้มีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นการตื่นตัวให้เห็นความสำคัญในการให้สัตยาบันอนุสัญญา รวมถึงฟื้นฟูกิจกรรมของกลุ่มสหภาพแรงงานที่มักมีปัญหาและอุปสรรคเนื่องมาจากความไม่สงบทางการเมือง

การหารือระหว่างสหภาพแรงงานและสมาชิกรัฐสภาถูกจัดขึ้น ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากตัวแทนจากกลุ่มองค์การสหภาพมากกว่า 35 แห่ง และมีวัตถุประสงค์เพื่อหาหนทางในการได้รับอนุมัติจากรัฐสภา อย่างไรก็ตาม ไม่มีสมาชิกรัฐสภาผู้ใดเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้เนื่องจากอีกไม่นานจะมีการเลือกตั้งทั่วไป แต่สหภาพแรงงานผู้เข้าร่วมการประชุมต่างก็ให้คำรับรองคำมั่นสัญญาที่จะสนับสนุนการยอมรับและการให้สัตยาบันอนุสัญญาดังกล่าวต่อไป

อุปสรรคอีกครั้งเกิดขึ้นจากเหตุการณ์น้ำท่วมประเทศในช่วงปลายปีพ. ศ.2554 ทำให้กระบวนการการให้สัตยาบันอนุสัญญาดังกล่าวหยุดชะงักอีกครั้ง ความวิตกกังวลและความสนใจมุ่งไปที่การแก้ปัญหาในเรื่องผลกระทบและการฟื้นฟูประเทศจากเหตุการณ์น้ำท่วม ในขณะที่รัฐบาลก็มีแผนที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญและถอนการเสนอให้พิจารณาเรื่องของการให้สัตยาบันอนุสัญญาออกจากรัฐสภาในช่วงปลายปี พ.ศ.2554

ในช่วงระยะเวลา 2 ปี พ.ศ.2553-พ.ศ.2554 องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ประสบผลสำเร็จในการวางแผนการทำงานระดับประเทศกับกลุ่มไตรภาคีในประเทศไทย และได้ร่วมมือกันในการร่างแผนงานระดับชาติว่าด้วยงานที่มีคุณค่า (Decent Work Country Programme: DWCP) คงเหลือแต่สิ่งเดียวคือความพยายามของกลุ่มลูกจ้างในการผลักดันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่87 และ 98 ซึ่งในร่างแผนงานระดับชาติว่าด้วยงานที่มีคุณค่า (Decent Work Country Programme: DWCP) ได้กำหนดให้การผลักดันให้ยอมรับข้อตกลงในอนุสัญญาทั้งสองมีความสำคัญในอันดับต้นๆ ของแผนงาน และมีเป้าหมายที่จะให้สัตยาบันภายในปี พ.ศ.2557 นี้

ดังนั้น การประชุมครั้งนี้ จึงเป็นการอภิปรายถึงอดีตปัจจุบัน และอนาคตของการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่87 และ 98 (ILO C.87 and 98) ความพยายามในการรวมกลุ่มเพื่อผลักดันการให้สัตยาบันอนุสัญญาดังกล่าวโดยคณะทำงานสหภาพแรงงาน และกระตุ้นการอภิปรายระดับไตรภาคีเพื่อผลักดันรการให้สัตยาบันอนุสัญญาให้มีการลงนามอนุมัติต่อไป

วัตถุประสงค์ของการประชุม

- ประเมินการวางแผนการทำงานของคณะทำงานกลุ่มสหภาพแรงงาน ซึ่งได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคมพ.ศ.2552 และทำการทบทวนแผน
- ขยายกิจกรรมในการรณรงค์การให้สัตยาบันอนุสัญญาไปสู่ระดับจังหวัด โดยการมีส่วนร่วมของกลุ่มสหภาพแรงงานในระดับจังหวัด
- ทบทวนการทำงานที่ผ่านมาของกลุ่มคณะทำงานไตรภาคี และวิเคราะห์จำแนกถึงอุปสรรคหลักในการดำเนินการในการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 และ 98
- กระตุ้นผ่านการประชุมอภิปรายไดรภาคี เพื่อให้เกิดความคืบหน้าของการหัสัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 และ 98 การร่างแผนการทำงานให้สอดคล้องกับแผนงานระดับชาติว่าด้วยงานที่มีคุณค่า (Decent Work Country Programme: DWCP) ในปี พ.ศ2555-2559
- เพื่อสร้างผลลัพธ์เลขที่ 802 สำหรับแผนงานระดับชาติว่าด้วยงานที่มีคุณค่าของประเทศไทย

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

- ทบทวน แก้ไขปรับปรุงแผนปฏิบัติงานของคณะทำงานสหภาพแรงงานและการผลักดันเพื่อให้เกิดผลอย่างแท้จริง
- แผนการรณรงค์ของการให้สัตยาบันอนุสัญญาในระดับภูมิภาคมีการเชื่อมโยงแผนงานรณรงค์ในระดับประเทศ
- คณะกลุ่มทำงานไตรภาคีซึ่งนำโดยกระทรวงแรงงานถูกกระตุ้นเพื่อขจัดสิ่งที่เป็นอุปสรรคและนำไปสู่การให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 และ 98
- คณะไตรภาคีมีการอภิปรายเชิงรุกและได้ข้อสรุปร่วมกันในการให้สัตยาบันอนุสัญญาตามเงื่อนไขเวลาว่าด้วยร่างแผนงานระดับชาติว่าด้วยงานที่มีคุณค่า (Decent Work Country Programme: DWCP) ในปี พ.ศ.2555-2559

จำนวนผู้เข้าร่วม

ผู้เข้าร่วมทั้งหมดมากกว่า 130 คน ประกอบด้วยตัวแทนของสหภาพแรงงานระดับประเทศและระดับจังหวัด กรทรวงแรงงานและกระทรวงอื่นๆ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ตัวแทนนายจ้าง รัฐสภา คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย องค์กรพันธมิตรและองค์การแรงงานระหว่างประเทศ

สถานที่จัดการสัมมนาและวันที่

- โรงแรมอมารี วอเตอร์เกต กรุงเทพฯ ห้องบอลรูม A และ B วันที่ 29-30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กำหนดการ

วันที่ 1 ( 29 สิงหาคม 2555)

08.00-09.00

ลงทะเบียน

09.00-10.00

เปิดการอภิปราย

- กล่าวต้อนรับ คุณ Jiyuan Wang ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กัมพูชาและลาว องค์การแรงงานระหว่างประเทศ
- กล่าวต้อนรับโดยคุณชินโชติ แสงสังข์ ผู้แทนจากสหภาพแรงงานไทย
- คำปราศรัยโดยผู้แทนจากสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย
- คำปราศรัยโดยคุณ Dan Cunniah ผู้อำนวยการสำนักงานกิจกรรมลูกจ้าง องค์การแรงงานระหว่างประเทศ เจนีวา
- เปิดการประชุมโดยรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ท่านเผดิมชัย สะสมทรัพย์ หรือผู้แทน

10.00-10.30

ถ่ายรูปร่วมและพักรับประทานอาหารว่าง

10.30-10.50

นำเสนอวัตถุประสงค์การประชุม กำหนดการพร้อมทั้งแนะนำผู้เข้าร่วมการประชุม

- ดำเนินการโดย คุณพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี รองผู้อำนวยการส่วนการศึกษาและความรู้ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

10.50-12.10

วาระหัวข้อ 1:

1) รายงานความก้าวหน้าการทำงาน ความท้าทายและอนาคตของคณะทำงานเพื่อสนับสนุนให้เกิดการให้สัตยาบันอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่87และ98
- นำเสนอโดยคุณชาลี ลอยสูง ประธานคณะทำงานผลักดันการให้สัตยาบัน

2) ความร่วมมือระหว่างองค์การแรงงานระหว่างประเทศกับสหภาพแรงงานไทยเพื่อนำไปสู่การให้สัตยาบันอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87และ98
- นำเสนอโดยคุณ Pong-Sul Ahn ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสเกี่ยวกับกิจกรรมของแรงงาน จากองค์การแรงงานประเทศ กรุงเทพฯ

3) นำเสนองานข้อสังเกต เรื่องอุปสรรคทางกฎหมายและเชิงปฎิบัติในการให้สัตยาบันและการบังคับใช้อนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 และ 98
- นำเสนอโดยคุณบัณฑิต ธนชัยเศรษฐวุฒิ ผู้อำนวยการและนักวิจัยสิทธิแรงงาน มูลนิธิอารมณ์พงศ์พงัน

12.10-13.30

พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.30-14.30

วาระหัวข้อ 2:

วิเคราะห์สถานการณ์ในเสรีภาพการสมาคมและการเจรจาต่อรองร่วม
- นำเสนอโดยคุณทิม เดอ เมเยอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศและมาตรฐานแรงงาน องค์การแรงงานระหว่างประเทศ กรุงเทพฯ

14:30-15:10

หัวข้อวาระที่ 3:

วิธีการพัฒนาสิทธิแรงงานตามหลักการของเสรีภาพในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วมให้บรรลุผล
- นำเสนอโดยคุณ Dan Cunniah ผู้อำนวยการสำนักงานกิจกรรมลูกจ้าง องค์การแรงงานระหว่างประเทศ เจนีวา

15:10-15:30

พักรับประทานอาหารว่าง

15.30-16.30

วาระหัวข้อ 4:

บทบาทและกิจกรรมของกระทรวงแรงงานต่อการรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่87และ98
- นำเสนอโดยคุณณัชชา สุนทรพรรค นักวิชาการแรงงานชำนาญการพิเศษ สำนักแรงงานสัมพันธ์ กระทรวงแรงงาน

16.30

จบรายการวันที่1

วันที่ 2 ( 30 สิงหาคม 2555)

09.00-09.10

สรุปรายงานวันที่ 1 และแนะนำโครงร่างวาระการประชุมวันที่2
- ดำเนินรายการโดยคุณยงยุทธ เม่นตะเภา เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ ยานยนต์ และโลหะแห่งประเทศไทย

09.10-10.10

หัวข้อวาระที่5: บทบาทของคณะกรรมการปฎิรูปกฎหมายต่อการสนับสนุนการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์

การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่87 และ98
- บรรยายโดยสุนี ไชยรส รองประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย

10.10-10.30

พักรับประทานอาหารว่าง

10.30–12.00

การอภิปราย/เสวนา: วิธีการมุ่งไปสู่การให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87และ98 (C.87 and C.98); การปฏิบัติและช่องว่างในการนำอนุสัญญาไปใช้

ผู้เข้าร่วมการอภิปรายประกอบด้วย:

- ผู้แทนจากกระทรวงแรงงาน: นายอิทธิพล แผ่นเงิน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ด้านแรงงานสัมพันธ์ สำนักแรงงานสัมพันธ์ กระทรวงแรงงาน

- ผู้แทนจากองค์กรนายจ้าง

- ผู้แทนจากองค์กรลูกจ้าง: คุณยงยุทธ เม่นตะเภา เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ ยานยนต์ และโลหะแห่งประเทศไทย

- ผู้แทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ: พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ

- ผู้แทนจากรัฐสภา: คุณสุภัท กุขุน ที่ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร

- ผู้แทนจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ: คุณ R. Raghwan สำนักงานกิจกรรมลูกจ้าง องค์การแรงงานระหว่างประเทศ เจนีวา

- ดำเนินรายการโดยคุณศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการอิสระด้านแรงงาน

12.00-13.15

รับประทานอาหารกลางวัน

13.15-14.30

วาระหัวข้อที่ 6: กิจกรรมกลุ่ม – (4 กลุ่มใน 4 หัวข้อ)

1) อภิปรายกลุ่ม

i. วิธีการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับแรงงาน

(นายวิรัช พยุงวงษ์ สภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย)

ii. กฏหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องกับการให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับที่87และ 98

(คุณบัณฑิต ธนชัยเศรษฐวุฒิ)

iii. การรณรงค์และกิจกรรมเกี่ยวกับการให้สัตยาบันอนุสัญญาในระดับจังหวัด

( คุณชาลี ลอยสูง คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย)

iv. การรณรงค์ให้สภานิติบัญญัติสนับสนุนการออกกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครอง แรงงานและการรณรงค์ผ่านสื่อ ( คุณสาวิทย์ แก้วหวาน สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์)

- ดำเนินรายการโดยคุณพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

14.30-15.00

พักรับประทานอาหารว่าง

15.00-16.00

2) นำเสนอผลการอภิปรายกลุ่มละ 10 นาที

- นำเสนอโดยประธานกลุ่ม
- ดำเนินรายการโดยคุณพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

หัวข้อวาระที่ 7: นำเสนอยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อให้สัตยาบันและการนำอนุสัญญาฉบับที่ 87 และ 98 ไปใช้

- นำเสนอโดย คุณ ชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย

16.00-16.20

ลงนามโดยสหภาพแรงงานผู้เข้าร่วมอภิปราย

16.20

ปิดการอภิปราย:

- คุณสาวิทย์ แก้วหวาน ผู้แทนจากสหภาพแรงงานไทย และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
- คุณ Dan Cunniah ผู้อำนวยการสำนักงานกิจกรรมลูกจ้าง องค์การแรงงานระหว่างประเทศ เจนีวา