ILO เรียกร้องให้ G20 เน้นการสร้างงานในสภาวะการจ้างงานที่แตกต่าง

(ILO เจนีวา) – ในสภาวะของ “ตลาดแรงงานที่เปราะบาง” อันเนื่องมาจากจำนวนการว่างงานที่อยู่ในระดับสูง การเพิ่มขึ้นของงานที่ช้า และอัตราค่าจ้างงานต่ำ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization – ILO) เน้นให้กลุ่ม G20 เร่งเน้นนโยบาย “การจ้างงานที่มีผลิตผล และนโยบายการเติบโตจากการสร้างงาน” ในการประชุมสุดยอดที่กรุงโซล เกาหลีใต้ ซึ่งนายฮวน โซมาเวีย ผู้อำนวยการใหญ่ ILO จะเข้าร่วมประชุมด้วย

Press release | BANGKOK | 08 November 2010

(ILO เจนีวา) – ในสภาวะของ “ตลาดแรงงานที่เปราะบาง” อันเนื่องมาจากจำนวนการว่างงานที่อยู่ในระดับสูง การเพิ่มขึ้นของงานที่ช้า และอัตราค่าจ้างงานต่ำ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization – ILO) เน้นให้กลุ่ม G20 เร่งเน้นนโยบาย “การจ้างงานที่มีผลิตผล และนโยบายการเติบโตจากการสร้างงาน” ในการประชุมสุดยอดที่กรุงโซล เกาหลีใต้ ซึ่งนายฮวน โซมาเวีย ผู้อำนวยการใหญ่ ILO จะเข้าร่วมประชุมด้วย

ตามสถิติล่าสุดที่เตรียมเพื่อใช้ในการประชุมสุดยอดจี 20 ในวันที่ 11-12 พฤศจิกายน นี้ ILO เผยว่าสถิติการว่างงานมีจำนวนเพิ่มขึ้นใน 10 ประเทศของกลุ่มจี 20 ในปี 2553 เพื่อเทียบกับปี 2552 แต่ลดลงใน 8 ประเทศ1 รายงานระบุว่าในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ มีการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นและการว่างงานที่น้อยลงในปี 2553

แม้ว่ารายงานแจ้งว่ามีการเติบโตในการจ้างงานในทุกประเทศในปี 2553 - ในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่มากกว่าในประเทศเศรษฐกิจรายได้สูง - ทว่าการเติบโตของการจ้างงานยังไม่แข็งแรงเพียงพอที่จะบรรเทาภาวะซบเซาที่สะสมของตลาดแรงงานในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ

ในขณะเดียวกัน ILO วิเคราะห์ว่าจำนวนคนว่างงานเกือบจะถึงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ คือ 210 ล้านคน โดยมากกว่าช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ในปี 2550 ถึง 30 ล้านคน ในขณะที่ค่าจ้างที่แท้จริงลดลงในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 4 ก่อนระดับที่เกิดวิกฤติ

ปัจจุบัน การเพิ่มขึ้นของความไม่สมดุลของรายได้ และการขาดการเติบโตทางรายได้ ของคนงานที่มีรายได้ส่วนใหญ่ หมายความถึง การขาดดุลของอุปสงค์รวม (deficient aggregate demand) และความไม่สมดุลของบัญชีเดินสะพัด

รายงานของ ILO ระบุว่าประเทศจี 20 จำต้องสร้างงานกว่า 21 ล้านงานทุกๆปีในทศวรรษหน้า - ประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนงาน 44 ล้านงานที่ต้องการทั่วโลก – เพื่อให้ทันกับอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรในวัยทำงาน

“การว่างงานไม่ใช่ปัญหาเดียว” นายราฟาเอล ดิเอส ดิ เมดินา ผู้อำนวยการฝ่ายสถิติของ ILO กล่าว โดย ILO ยังพบการลดลงของอัตราเวลาการทำงาน และอัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานในประเทศเศรษฐกิจรายได้สูง รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของจำนวนคนงานที่ขาดแรงจูงใจในการทำงาน

“ประเด็นดังกล่าวน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะคนกลุ่มนี้ไม่ได้รวมอยู่ในกลุ่มของคนที่ว่างงาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการรวมตัวทางสังคมอย่างเห็นได้ชัด โดยการจ้างงานในระดับที่ต่ำกว่าที่เกี่ยวข้องกับช่วงเวลา จะอยู่ในระดับคงที่ในปี 2553 แต่ยังคงอยู่ในระดับสูงในหลายประเทศในกลุ่มจี 20

ข้อสรุปหลักของรายงานมีดังนี้

ใน 18 ประเทศ ที่มีข้อมูลในช่วงครึ่งปีแรกของ 2553 มีคนลงทะเบียนว่างงาน 70 ล้านคน (15.5 ล้านคนในยุโรป 22 ล้านคนในประเทศเศรษฐกิจรายได้สูง และ 32.5 ล้านคนในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่)

การว่างงานในกลุ่มประเทศจี 20 มีอัตราเฉลี่ยอยู่ระหว่างร้อยละ 25 และ 5 โดยมีมัธยฐานที่ร้อยละ 7.8 เมื่อกลางปี 2553 ในประเทศเศรษฐกิจรายได้สูง (ยกเว้นยุโรป) มีการว่างงานร้อยละ 70 ซึ่งเป็นระดับสูงกว่าระดับก่อนเกิดวิกฤติ และร้อยละ 30 สูงกว่าในยุโรป

การว่างงานของผู้ชายมีจำนวนมากขึ้นกว่าผู้หญิงในทุกประเทศ

การว่างงานของเยาวชนโดยเฉลี่ยจะสูงเป็น 2 เท่าของการว่างงานทั้งหมด กล่าวคือร้อยละ 19 ของกลุ่มประเทศจี 20

วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจได้ส่งผลในการเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจทุกแห่ง โดยมีการจ้างงานในภาคการผลิตที่ลดลงมากในประเทศจี 20 ทุกแห่ง (ระหว่างอัตราร้อยละ 1.5 และ 3 ของส่วนร่วมในการจ้างงานทั้งหมด) การจ้างงานในภาคก่อสร้างมีจำนวนลดลงในประเทศส่วนใหญ่

มีการลดลงของพลังแรงงานชายและหญิงในทุกภูมิภาค ในขณะที่มีการเพิ่มขึ้นของพลังแรงงานหญิงในยุโรป และประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่

รายงานของ ILO เน้นถึง แนวทางการใช้รายได้เป็นตัวนำโดยมีพื้นฐานของการสร้างงานที่มีผลิตผลและนโยบายการเติบโตโดยการสร้างงานเป็นหลัก ซึ่งรวมถึงการลงทุนมากขึ้นและการเข้าถึงสินเชื่อ การให้ความสำคัญกับองค์กรขนาดเล็ก การขยายความคุ้มครองทางสังคมในทุกประเทศ การมีค่าจ้างที่แท้จริงที่สมดุลกับการเพิ่มทางผลิตผล และการให้ความคุ้มครองที่ดีต่อคนงานรายได้ต่ำโดยการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ รายงานยังระบุว่านโยบายเหล่านี้จะสามารถช่วยลดความไม่สมดุลของแต่ละประเทศทั่วโลกได้

สามารถอ่านรายงานได้ที่นี่

ขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่


กฤษฏาพร สิงหเสนี
เจ้าหน้าที่ข่าวสารไอแอลโอ
Email
Tel: 02-288 1664