12 มิถุนายน - วันต่อต้านการใช้แรงงานเด็กโลก – การประกาศใช้นโยบายต่อต้านการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ จังหวัดสมุทรสาคร ประเทศไทย

ในวันต่อต้านการใช้แรงงานเด็กโลก สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ประกาศใช้นโยบายต่อต้านการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ

Press release | 12 June 2012

วันต่อต้านการใช้แรงงานเด็กโลกในปีนี้ เน้นประเด็นสิทธิเด็กที่จะต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองจากการใช้แรงงานเด็กและการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอื่นๆ เด็กทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานเทียบเท่ากับบุคคลทุกคน เนื่องด้วยอายุยังน้อย เด็กขาดความรู้ ประสบการณ์ การพัฒนาการทางร่างกาย และความสามารถในการปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง เด็กจึงต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองเพราะอายุของเขา

  • ในปี ๒๕๕๓ ได้มีการอนุมัติแผนงาน (Roadmap) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการขจัดปัญหาการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายภายในปี ๒๕๕๙
  • มีเด็กจำนวนมากกว่า ๒๑๕ ล้านคนทั่วโลกที่ยังตกอยู่ในสภาพแรงงานเด็ก และเด็กอีกประมาณ ๕ ล้านคนเป็นแรงงานบังคับ
  • ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค แรงงานเด็กมีแนวโน้มลดลง แต่ทว่ามีเด็กที่อยู่ในช่วงอายุทำงาน ๕-๑๗ ปี จำนวนสูงสุด (๑๑๓.๖ ล้านคน) และเด็กมากกว่า ๔๘ ล้านคนทำงานอันตราย
  • มีความจำเป็นที่จะต้องจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในที่ทำงานสำหรับแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานเด็กอายุขั้นต่ำจนถึง ๑๘ ปี


ในช่วง ๒ ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาการใช้แรงงานเด็ก โดยได้มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจควบคู่กับนโยบายทางการศึกษาและสาธารณสุข ประเทศไทยยังได้มีกรอบนโยบายและกฏหมายที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็กและการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย อย่างไรก็ตาม ยังพบว่ามีรูปแบบการแสวงหาผลประโยชน์ในกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฏหมาย ทั้งนี้ยังมีแรงงานเด็กที่พบได้ทั๋วไปในภาคการผลิตและบริการ รวมถึงการผลิต การเกษตร การประมงและแปรรูปอาหารทะเล และแรงงานทำงานบ้าน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเองระบุว่า "รัฐต้องดำเนินการตามนโยบายเศรษฐกิจที่จะส่งเสริมโอกาสในการทำงานสำหรับคนในวัยทำงาน ปกป้องผู้หญิงและแรงงานเด็ก เพื่อที่จะช่วยส่งเสริมด้านแรงงานสัมพันธ์และระบบไตรภาคีต่อไป"

ในอนุภูมิภาค โครงการการขจัดการใช้แรงงานเด็กขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO / International Programme on the Elimination of Child Labour - IPEC) ทำงานเชิงรุกเพื่อที่จะช่วยกลุ่มประเทศต่างๆ ในการปฏิบัติตามภาระผูกพันและข้อตกลงอื่นๆ ในระดับนานาชาติ สำหรับประเทศไทย โครงการ ILO / IPEC ได้ดำเนินโครงการ "การส่งเสริมสภาพการทำงานที่ดีในอุตสาหกรรมกุ้งและอาหารทะเล" มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างกรอบนโยบายและการดำเนินการเพื่อปกป้องสิทธิของแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติ นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายให้อุตสาหกรรมนี้ปราศจากการใช้แรงงานเด็ก มีสภาพการทำงานที่ดี และสร้างโอกาสที่ดีให้แรงงาน รวมถึงแรงงานข้ามชาติ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศไทย

โครงการยังมุ่งเน้นการเข้าถึงงานบริการทางการศึกษา ความคุ้มครองทางสังคม และการบริการเพื่อช่วยในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานของเด็กต่างชาติและชาวไทย รวมถึงครอบครัวของพวกเขา องค์การแรงงานระหว่างประเทศทำงานร่วมกับรัฐบาลไทยโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน และกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ และภาคีเครือข่ายอื่นๆ เช่น สมาคมเกษตรกร ประชาสังคม องค์กรนายจ้างและลูกจ้าง (สภาองค์กรนายจ้างแห่งประเทศไทย และสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย - Thai Frozen Foods Association - TFFA)

“ภาคเอกชนก็มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็ก และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงาน ร่วมกับสหภาพแรงงานและภาครัฐ“ นายตูโอโม ปูติไอเนน (Tuomo Poutiainen) ผู้จัดการโครงการ IPEC ของประเทศไทยกล่าวว่า “จุดสำคัญของงานวันต่อต้านการใช้แรงงานเด็กโลกปีนี้ เน้นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมทางสังคม ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีที่ของ TFFA ในการนำเสนอนโยบายใหม่ในการสร้างความมั่นใจให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมกุ้งและอาหารทะเล รวมถึงเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายแรงงานในระดับชาติและมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เกี่ยวข้องกับแรงงานเด็กและแรงงานบังคับ”

สมาชิกของ TFFA มีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนนโยบายการขจัดแรงงานเด็กในอุตสาหกรรม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบร่วมกันในการดำเนินธุรกิจ และส่งเสริมสภาพการทำงานที่ดี มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและสร้างแรงจูงใจในการขจัดการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ รวมถึงการเลือกปฏิบัติ “TFFA เชื่อว่าสถานประกอบการที่ดี คือสถานที่ทำงานที่ปลอดภัยและมีสุขอนามัยที่ดีสำหรับคนงาน สิ่งเหล่านี้จะสามารถนำไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และจะไม่มีการใช้แรงงานเด็กหรือแรงงานผิดเงื่อนไขโดยทั่วไป” คุณอาทร พิบูลธนพัฒนา เลขาธิการ TFFA กล่าว “การปฏิบัติด้านแรงงานที่ดี อย่างจริงจัง ให้สอดคล้องกับกฎหมายในประเทศและมาตรฐานสากล เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เพื่อเอื้อต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยรวมและความ ต่อเนื่องทางเศรษฐกิจ”

ในส่วนของสหภาพแรงงานก็มีบทบาทสำคัญและมีความพยายามที่จะขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบต่างๆ สภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย ย้ำว่า “บทบาทของเราคือการสนับสนุนการป้องกันการใช้แรงงานเด็ก และส่งเสริมการทำงานที่ปลอดภัยสำหรับเยาวชน รวมถึงมีการรณรงค์หยุดการใช้แรงงานเด็กและสนับสนุนให้มีสภาพการทำงานที่ดีสำหรับทุกคนที่เป็นแรงงานในประเทศไทย”

Regional estimates of child labour, 2008 (5–17 age group,) ILO Global Report 2010

 

Total children

(‘000)

Children in employment

(‘000) %

Child labourers


(‘000) %

Children in hazardous work

(‘000) %

World

1586288

305669

19.3

215269

13.6

115314

7.3

Asia & the Pacific

853895

174460

20.4

113607

13.3

48164

5.5

Latin America & Caribbean

141043

18851

13.4

14125

10.0

9436

6.7

Sub-Sahran Africa

257108

84229

32.8

65054

25.3

38736

15.1

Other regions

334242

28129

8.4

22473

6.7

18978

5.7

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ

ธนียา รุญเจริญ
เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ
โครงการการขจัดการใช้แรงงานเด็ก ประเทศไทย
โทร. 02-288 1342
อีเมล์